Thursday, May 3, 2007

ค่าแรงช่างเคาะ - พ่นสีรถยนต์

ต้องทราบก่อนว่า ค่าแรงช่างเคาะ-พ่นสีรถยนต์นั้น ถือได้ว่าแพงที่สุดแล้วในบรรดาช่างซ่อมรถยนต์ทั่วไป เนื่องจากต้องใช้ฝีมือและความสามารถเฉพาะตัวอย่างมากในการฝึกฝน จนสามารถใช้การได้ และเป็นปัจจัยสำคัญของต้นทุนในการประกอบการ ขอแยกตามนี้

  1. ช่างเคาะ มีค่าตัวแพงที่สุด และถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของงานเคาะพ่นสีรถยนต์ ถ้าช่างฝีมือไม่ดี ทำงานพลาด จะส่งผลเสียให้งานที่ออกมาทั้งหมด เสียไปด้วย ในกรณีรถได้รับความเสียหายหนัก จำเป็นต้องพึ่งฝีมือช่างเคาะเป็นอย่างมาก ช่างเคาะทำออกมา่ไม่ดี อาจทำให้ "เสียรถ" ไปเลย ไม่ใช่ที่ความเงางามของสีรถยนต์แต่ประการใด และถ้าหากว่า ทรงของตัวถังรถยนต์ เสียหายไปแล้ว โอกาสที่จะแก้ไขเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือการเชื่อมเหล็ก การตีเหล็กให้เรียบ การไล่บวม ถ้ามือไม่ถึงแล้ว งานเสียหายมาก ค่าตัวช่างเคาะอยู่ที่ระดับ 500 บาท /วัน ไปจนถึงระดับ 1,000 บาท/วัน ก็มี
  2. ช่างสี อู่ทั่วไป จะแบ่งแยกงานระหว่าง งานโป๊วสี เตรียมพื้นก่อนพ่นสี กับ ช่างพ่นสี โดยทั่วไปช่างโป๊วสีจะทำการโป๊วกลบรอยเคาะ เก็บรอยตามด ไปจนถึงการปิดกระดาษ เตรียมพื้นก่อนพ่นสี แล้วส่งต่องานให้ ช่างพ่นสี ช่างสีค่าตัวจะอยู่ในระดับ 300 บาท /วัน ไปจนถึง ระดับ 700 บาท/วัน
นอกจากนี้แล้วยังมี ช่างถอดประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งก็สำคัญเช่นกัน แต่จะเป็นงานสำหรับช่างเึคาะใหม่ หากถอดประกอบชิ้นส่วนเสียหาย หรือว่า ประกอบกลับคืนไม่ครบ ความเสียหายย่อมเกิด (ผมเคยเห็นช่างประกอบ ไฟหน้ารถยนต์จนขาหักมาแล้ว ต้องซื้อใช้ให้ลูกค้า เป็นอันว่า Job นั้นขาดทุน )หรือ ช่างขัดสีรถยนต์ โดยจะทำเฉพาะในส่วนของ การขัดสีรถยนต์หลังการพ่นสี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ค่าตัวก็จะอยู่ในระดับต่ำว่าช่างสี (นี่ก็เหมือนกัน ผมเคยเห็นช่างขัดสีรถยนต์ ขัดสีจนแหว่งถึงเนื้อเหล็กมาแล้ว ) การกำหนดราคาค่าแรงช่าง เป็นเรื่องที่สำคัญ ควรมีการเ่จรจาตกลงกันให้ดี ควรให้มีการทดลองงานเสียก่อนที่จะระบุค่าแรงที่แน่นอน เพราะมีหลายรายที่เก่งแต่ปาก ฝีมือไม่เท่าไหร่ ต้องระวัง

จะมีช่างอีกประเภท คือช่างรับเหมาซ่อม ที่หากินตามอู่เล็กๆ อู่ขนาดใหญ่จะไม่มีการจ้างเหมา เพราะถือเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็น จะใช้วิธีให้ OT แทน ช่างรับเหมาจะมีทั้ง ช่างเคาะ หรือว่าช่างสี หรือว่ามากันครบทีม เลยก็มี โดยจะพิจารณาเป็น Jobไป หากว่าต้องการเร่งงานให้เสร็จเร็ว ก็ต้องพึ่งพาช่างพวกนี้ โดยจะมีการตีราคาจ้างเหมา จนเสร็จงาน ช่างระดับนี้ ส่วนใหญ่เคยเปิดอู่มาก่อน หรือสามารถรู้ราคาที่อู่รับงานมา สามารถตีราคาให้ อู่เหลือกำไรเพียงนิดหน่อยก็ได้ ต้องพิจารณาให้ดี และช่างพวกนี้ส่วนใหญ่จะทำงานเร็วผิดปกติ เพราะต้องทำเวลา ดังนั้นงานที่ออกมา จึงไม่ละเอียดเท่าที่ควร หาได้น้อยมาก ที่ทำงานออกมาดี ไ่ม่มีปัญหา

โปรดระวัง : ช่างที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ เช่น รับเหมาแล้วทิ้งงาน ช่างประจำที่หยุดงานบ่อย เมาในระหว่างทำงาน ลัก ขโมย ทรัพย์สินในรถยนต์ลูกค้า นำวัสดุในอู่ไปใช้ส่วนตัว นำรถยนต์ลูกค้าออกไปขับ ทำงานชุ่ยมักง่าย หมกเม็ด สำหรับอู่ในกลุ่ม สหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (วันหน้าจะเขียนถึง) จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ เรื่องนี้อยู่บ้าง โดยจะทำการ Ban ช่างที่มีปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เข้าทำงานอู่ในสมาคม แต่อู่โดยทั่วไปก็ต้อง พิจารณากันเอง

Friday, April 20, 2007

การล้างรถ และการบำรุงรักษาสี


การล้างรถที่ถูกวิธี ควรต้องใช้น้ำฉีดล้าง คราบภายนอกตัวรถ (เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ที่มีใช้กันตาม ศูนย์บริการ) จะทำให้ฝุ่นละออง คราบโคลน หลุดออกไปเกือบ 100 % แล้วจึงใช้ฟองน้ำ ชุบเช็ดให้ทั่วบริเวณอีกครั้ง ด้วยโฟมล้างรถ หรือ แชมพู เท่านั้น ห้ามใช้ผงซักฟอก เพราะจะทำให้สีซีดจาง

ถ้าหากไม่ใช่วิธีนี้ คราบสิ่งสกปรก โดยเฉพาะิอย่างยิ่ง ฝุ่น หรือ เม็ดทราย ที่ติดตัวรถ เมื่อนำผ้า หรือ ฟองน้ำ ไปเช็ด ก่อนที่จะใช้น้ำฉีดล้าง จะทำให้เกิดริ้วรอยที่เรียกกันว่า "ขนแมว" และถ้าหากเป็นเม็ดทราย จะทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ ดังนั้นที่ถูกต้อง จึงควรใช้น้ำฉีดล้างคราบเหล่านั้น ออกให้หมดเสียก่อน หลังจากนั้นจึงใ้ช้น้ำฉีดล้าง โฟม หรือ แชมพู ออกจนหมด ทิ้งไว้ซักครู่ จึงใช้ผ้าแห้งเช็ดให้แห้งสนิทอีกครั้ง

ฟองน้ำที่ใช้จะเป็นชนิดไหนก็ได้ แต่ต้องสะอาด ต้องระวังไม่ให้มีเม็ดทรายติดอยู่ ส่วนผ้าที่ใช้ควรเป็น ผ้าสำลี หาซื้อได้ตามร้านขายสีพ่นรถยนต์ทั่วไป หรือใช้ ผ้าชามัวร์ จะเป็นของแท้ หรือว่า สังเคราะห์ก็ได้ ที่สำคัญคือ ผ้าจะต้อง สะอาด หลังจากใช้แล้วควรซักล้าง ตากให้แห้งแล้ว ควรเก็บไว้ให้มิดชิด

หลังจากเช็ดรถจนแห้งสนิทดีแล้ว ใช้ ยาลงเงา (มีขายตามร้านขายสีพ่นรถยนต์) จะเป็นยี่ห้อใดก็ได้ นำมาลงเงาโดยป้ายน้ำยาให้ทั่วบริเวณ แล้วใช้ผ้าสำลีที่แห้งสนิท เช็ดจนขึ้นเงางาม ส่วนยางรถยนต์ก็อาจใช้ Waxy เช็ดก็จะทำให้เป็นสีดำสวยงาม Waxy นี่สามารถใช้เช็ดกับพลาสติคสีดำด้วยก็ได้

น้ำยาเคลือบเงา ปกติแล้ว อู่ซ่อมรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้ยี่ห้อ 3M ซึ่งจะมีที่ใช้กับสีแห้งเร็ว และแห้งช้า ราคาไม่แพงจนเกินไปนัก คุณภาพดี เคลือบผิวได้นาน สีจะมีความฉ่ำและเงางาม ส่วนยี่ห้อ Gana ก็เป็นที่นิยมตามเต้นท์รถยนต์ เนื่องจากมีราคาที่ถูก คุณภาพพอใช้ได้ ก็แล้วแต่จะเลือกใช้ตามความต้องการ

การล้างรถยนต์ ด้วยตัวเองโดยไม่ได้ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง บ่อยๆ ไม่เป็นผลดี เพราะทุกครั้งที่ล้าง จะทำให้สีเกิดเป็นรอยขนแมว ไม่ว่าจะระวังเพียงใดก็ตาม ยิ่งถ้าไม่ได้มีการเคลือบทับหน้าด้วย น้ำยาเคลือบเงาด้วยแล้ว ดังนั้นจึงควรล้างรถ ตามศูนย์บริการ คาร์แคร์ หรือตามปั๊มน้ำมัน จะดีกว่า และเราอาจเอา น้ำยาเคลือบเงาของเรา ไปให้เขาลงเงาให้ก็ไ้ด้ หากรถยนต์ไม่สกปรกมากนัก ก็เพียงแค่ใช้ ผ้าขนไก่ที่สะอาดๆ ปัดฝุ่นที่เกาะอยู่ออก ก็เพียงพอแล้ว

Monday, March 19, 2007

สีพ่นรถยนต์ และสารเคมีที่ใช้

สีพ่นรถยนต์ และสารเคมีที่ใช้ สีพ่นรถยนต์ในเมืองไทย ที่อู่ซ่อมรถยนต์ต่างๆนิยมใช้ ก็จะมีอยู่ 3 ชนิด(ขอใช้ภาษาทีง่ายต่อการทำความเข้าใจ)

  1. สีแห้งเร็ว
    - ตัวทำละลายหรือตัวผสม(Solvent) คือ ทินเนอร์ (Thinner) 3A หรือจะใช้ Acrylic Thinner 3609 ก็ได้
    - แลคเกอร์ (Lacquer) ชนิดแห้งเร็วโดยผสมในสีและทินเนอร์ พร้อมกันตามอัตราส่วนที่ระบุไว้
    - เป็นสีผสมเสร็จ ตามเบอร์สีของแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น
  2. สีแห้งเร็วที่มีขั้นตอนการเคลือบทับหน้าด้วย แลคเกอร์ แบบระบบสีแห้งช้า
    - สี Acrylic แห้งเร็ว ต้องมีการผสมแม่สีเข้าด้วยกันตาม สูตรและน้ำหนัก ของเบอร์สีที่ต้องการ
    - ตัวทำละลายหรือตัวผสม(Solvent) คือ Acrylic Thinner 3609 เท่านั้น
    - การเคลือบทับหน้าจะใช้ แลคเกอร์ แห้งเร็ว ชนิดที่มีตัวเร่ง(Hardener)
  3. สีแห้งช้า 2K
    - สี 2 K ต้องมีการผสมแม่สีเข้าด้วยกันตามสูตรและน้ำหนัก ของเบอร์สีที่ต้องการ
    - ตัวทำละลายหรือตัวผสม (Solvent) คือ 2 K Thinner หรือ Acrylic Thinner 3609 (แต่ไม่แนะนำ)
    - การเคลือบทับหน้าจะใช้ แลคเกอร์ 2K แห้งช้า ชนิดที่มีตัวเร่ง(Hardener)
    **กรณีที่เป็นสี Solid บางยี่ห้อ สามารถใช้แลคเกอร์ 2K อีกชนิด ผสมในเนื้อสี พ่นในขั้นตอนเดียวก็ได้

ถ้าแบ่งตามลักษณะของสี คือ

  1. สีเมทัลลิค Metalic มีเม็ดบรอนซ์ผสมอยู่ในสี
  2. สีธรรมดา Solid สีที่ไม่มีเม็ดบรอนซ์ผสมอยู่ในสี
  3. สีมุก Pearl สีที่ผสมผงมุก ลงในเนื้อสี

ปกติอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป จะนิยมใช้ สีแห้งเร็วที่มีขั้นตอนการเคลือบทับหน้าในแบบแห้งช้า หรือจะเรียกว่า แห้งเร็ว 2K หรือจะเรียกว่า กึ่งแห้งช้า ก็ได้

การใช้สีแห้งเร็วแบบที่ 1 นั้นไม่นิยมใช้แล้วเนื่องจากคุณภาพของงานที่ออกมาไม่ดี สีไม่เงางามเท่าที่ควร และราคาวัสดุที่ใช้ก็ไม่ต่างกันมากเหมือนก่อน อู่จึงหันมาใช้แบบ ที่ 2 กันมากที่สุด

ระบบสีแห้งช้า 2K ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก เพราะขั้นตอนการทำงานจะช้ามาก เช่นต้องปล่อยให้แห้งตัว 10 ชั่วโมงขึ้นไป ถึงจะทำการขัดสีได้ หรือหากเกิดความผิดพลาด ต้องทำการพ่นซ่อมได้ต้องหลังจากนั้น 8 - 10 ชั่วโมง ส่วนระบบกึ่งแห้งช้า นั้นสามารถพ่นซ่อมได้หลัง 4 ชั่วโมงและทำการขัดสีได้ภายใน 8 ชั่วโมง

เทคนิคการดูรถยนต์มือสอง

เทคนิคในการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง มีวิธีดูหลายรูปแบบ แล้วแต่ความชำนาญของแต่ละคน พ่อค้ารถยนต์เพียงแค่มองเท่านั้น ไม่ต้องเดินไปเคาะๆตัวถัง ก็รู้แล้วว่า ชิ้นไหน ผ่านการทำสีมาแล้วบ้าง

ในเรื่องของเครื่องยนต์ ยากมากที่จะรู้ว่า เครื่องยนต์เคยมีปัญหามาหรือเปล่า เพราะสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องได้ การดูสีน้ำมันเครื่อง หรือการดมกลิ่นไหม้จากน้ำมันเครื่องจึงไม่ช่วยอะไรมากนัก อาจสังเกตหัวน็อตฝาสูบว่าเคยมีร่องรอยการไขเปิดออก หรือเปล่า แต่ก็ค่อนข้างยากมาก ดังนั้นเรื่องเครื่องนี่ดูลำบาก
การดูเกียร์ออโต้ ว่าแผ่นคลัชหมดสภาพหรือยัง ก็ให้ดึงเบรคมือ เข้าเกียร์ D เร่งเครื่องค้างไว้ที่ 2500 รอบ ถ้ารอบไม่ตกก็เป็นอันว่าใช้ได้

ในส่วนของตัวถัง ให้สังเกตดังนี้

  • ให้ดูที่ ชัสซี ใต้ท้องหากมีการพ่น Body shoot หรือ พ่นกันสนิมสีดำทับ ชัสซี มาสดๆร้อนๆ ก็เป็นอันว่า ลืมรถคันนั้นไปได้เลย แสดงว่าต้องมีการดึง ยืด ชัสซี ด้วยไฟ จำเป็นที่จะต้องพ่นทับ เพื่ออำพราง
  • ดูแนวบริเวณหลังคา โดยยืนจากหน้ารถยนต์หันไปทางด้านท้าย เล็งดูร่องระหว่างหลังคา กับ ขอบประตูด้านหน้า ด้านหลัง เป็นแนวเสมอกันหรือไม่ ถ้าไม่ ก็แสดงว่า เคยคว่ำมาแล้ว ดูทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
  • ดูขอบกระจกหน้าและหลัง ว่าคิ้วขอบกระจกเรียบร้อยดีหรือไม่ มีการเผยอหลุดออกมาหรือเปล่า นั่นแสดงว่า กระจกเคยแตกมาก่อน แล้วติดตั้งกระจกไม่เรียบร้อย
  • ดูห้องเครื่อง สังเกตบริเวณ คานรับฝากระโปรงหน้า หรือภายในห้องเครื่อง สีใหม่ผิดปกติหรือเปล่า มีละอองสีมาเกาะติดตามเครื่องหรือไม่ สังเกตดูตามซอกต่างๆ ว่าสีตรงกันกับภายนอกตัวรถหรือไม่ สังเกตดูป้ายทะเบียน ว่าบุบยับหรือเปล่า สังเกตดูว่า แผ่น Plate ซึ่งมักจะติดเอาไว้บริเวณ คานฝากระโปรงหน้า ปกติดีอยู่หรือไม่ มีร่องรอยการแกะออกมาหรือเปล่า มีสีติดอยู่หรือไม่
  • เปิดดูในฝากระโปรงท้าย ดูพื้นรองยางอะไหล่ แผงด้านท้าย บริเวณคานฝากระโปรงท้าย มีร่องรอยการทำสีภายในมาใหม่หรือไม่
  • กรณีที่เป็นรถปิคอัพ ให้ดูภายในกระบะด้วย ว่าสีใหม่ผิดสังเกตหรือเปล่า
  • สังเกตสีภายนอกตัวรถ เม็ดสีที่มาจากโรงงาน หากมองเฉียงเป็นมุม 45 องศา จะเป็นลักษณะเหมือนผิวส้ม สม่ำเสมอ มองดูมุมสะท้อน จะเห็นรอยขนแมว ขีดข่วนบ้างเล็กๆน้อยๆ โดยทั่วไป ส่วนสีภายในห้องเครื่องหรือ ฝากระโปรงท้าย จะมีคราบเหลืองเกาะติด ไม่สะอาดหมดจรดเหมือนกับของใหม่

Friday, March 16, 2007

บริษัทประกันภัยรถยนต์

บมจ. กมลประกันภัย
Kamol Insurance Co.,Ltd. (Public)
361 ถนนบอนด์สตรีท เืมืองทองธานี 3
ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
โทร. : 0-2502-2999
โทรสาร : 0-2502-2933
361 Muang Thong Thani,
Bond Street, Bangpood,
Pakkred, Nonthaburi 11120
เว็ปไซด์ :
http://www.kamolinsurance.com/
อีเมล์ : info@kamol.co.th





บมจ. กรุงเทพประกันภัย
Bangkok Insurance Public Co., Ltd.
25 ถนนสาทรใต้ ข.ทุ่งมหาเมฆ
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
25 South Sathorn Road,
Sathorn, Bangkok 10120
โทร. : 0-2285-8888, 0-2677-3777
โทรสาร : 0-2677-3737-8
เว็ปไซด์ : http://www.bki.co.th/
อีเมล์ : corp.comm1@bki.co.th



บจ. กรุงไทยพานิชประกันภัย
Krungthai Panich Insurance Co., Ltd.
208 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
208 Wireless Road,
Patumwan, Bangkok 10330
โทร. : 0-2651-5500, 0-2302-0111
โทรสาร : 0-2651-5511
เว็ปไซด์ :
http://www.kpi.co.th/
อีเมล์ : hrd@kpi.co.th




บจ. เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
MSIG Insurance (Thailand) Co., Ltd.
908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
ข.บางกะปิ เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร 10320
908 New Petchburi Road,
Huaykwang, Bangkok 10320
โทร. : 0-2318-8318, 0-2319-1199
โทรสาร : 0-2318-8550, 0-2319-1166
เว็ปไซด์ :
www.msig-thai.com





บมจ. จรัญประกันภัย
Charan Insurance Public Co., Ltd.
401 ถนนรัชดาภิเษก ข.สามเสนนอก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
401 Rachadaphisek Road,
Huaykwang, Bangkok 10320
โทร. : 0-2276-1024
โทรสาร : 0-2275-4919




บจ. คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย)
QBE Insurance(Thailand) Co., Ltd.
968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15
ถ.พระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร 10500
15 th Floor, U Chuliang Bldg., 968 Rama IV Rd., Silom,
Bangkok 10500
โทร. : 0-2238-0999
โทรสาร : 0-2238-0836
เว็ปไซด์ :
http://www.qbe.com/
อีเมล์ : marketing@qbe.co.th




บจ. อลิอันช์ ซี.พี. ประกันภัย
Allianz C.P. General Insurance Co., Ltd. )
313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 26
ถนนสีลม ข.สีลม เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร 10500
313 Silom Road,
Bangrak, Bangkok 10500
โทร. : 0-2638-9000
โทรสาร : 0-2638-9050
เว็ปไซด์ :
http://www.allianzcp.com/
อีเมล์ : contact@allianzcp.com




บมจ. เจ้าพระยาประกันภัย
Chao Phaya Insurance Co., Ltd.
3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์
ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 ข.พระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
3675 Rama 4 Road,
Klongtoey, Bangkok 10110
โทร. : 0-2261-9955, 0-2661-3355
โทรสาร : 0-2261-3775
เว็ปไซด์ :
http://www.cpyins.com/
อีเมล์ : webmaster@cpyins.com




บจ. ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย)
Chubb Insurance (Thailand) Co., Ltd.
52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม
ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2231-2640 - 50
โทรสาร : 0-2231-2654
16th Floor, Thaniya Plaza, 52 Silom Road,
Bangrak, Bangkok 10500
เว็ปไซด์ :
http://www.chubb.com/




บมจ. ทิพยประกันภัย จำกัด
Dhipaya Insurance Public Co., Ltd.
63/2 ถนนพระราม 9 ข.ห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
63/2 Rama 9 Road,
Huaywang, Bangkok 10320
โทร. : 0-2248-0059
โทรสาร : 0-2248-7849 - 50
เว็ปไซด์ :
http://www.dhipaya.co.th/
อีเมล์ : webmaster@dhipaya.co.th




บมจ. เทเวศประกันภัย
Deves Insurance Public Co., Ltd.
97,99 ถนนราชดำเนินกลาง ข.วัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
97,99 Ratchadamnoen Klang Road,
Pranakorn, Bangkok 10200
โทร. : 0-2670-4444
โทรสาร : 0-2280-0399
เว็ปไซด์ :
http://www.deves.co.th/
อีเมล์ : dvsins@deves.co.th




บมจ. ซิกน่าประกันภัย
CIGNA Insurance Public Co., Ltd.
(ชื่อเดิม : บมจ. ไทยเจริญประกันภัย
Thai Charoen Insurance Public Co., Ltd.)
598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7
ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
598 Ploenchit Road,
Patumwan, Bangkok 10330
โทร. : 0-2651-5995
โทรสาร : 0-2650-9600




บมจ. ไทยประกันภัย
Thai Insurance Public Co., Ltd.
34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต ข.ลุมพีนี เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
34/3 Ploenchit Road,Patumwan, Bangkok 10330
โทร. : 0-2652-2880
โทรสาร : 0-2652-2870-2
เว็ปไซด์ :
http://www.thaiins.com/
อีเมล์ : tic@thaiins.com




บจ. มิตรแท้ประกันภัย
Mittare Insurance Co.,Ltd.
295 ถนนสี่พระยา ข.สี่พระยา
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
295 Siphaya Road,
Bangrak, Bangkok 10500
โทร. : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646
โทรสาร : 0-2652-2870-2
เว็ปไซด์ :
http://www.mittare.com/
อีเมล์ : webmaster@mittare.com




บจ. ไทยพัฒนาประกันภัย
Thai United Insurance Co., Ltd.
34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท ข.คลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
34 Soi Na Na Tai, Sukhumvit Rd., Klongtoey, Bangkok 10110
โทร. : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646
โทรสาร : 0-2253-0550, 0-2253-0606
เว็ปไซด์ :
http://www.thaipat.co.th/




บมจ. ฟอลคอนประกันภัย
The FALCON Insurance Public Co.,Ltd.
(ชื่อเดิม : บมจ.ไทยพาณิชย ์ ประกันภัย
Thai Commercial Insurance Public Co., Ltd.)
90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
90/26-27 Sathorn Bldg., North Sathorn Road, Silom, Bangrak, Bangkok 10500
โทร. : 0-2636-8118
โทรสาร : 0-2236-8119




บมจ. ไทยรับประกันภัยต่อ
Thai Reinsurance Public Co., Ltd
223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
223/1Soi Ruamruedee, Wireless Road,
Patumwan, Bangkok 10330
โทร. : 0-2256-6822, 0-2651-4222
โทรสาร : 0-2256-6565, 0-2256-6832
เว็ปไซด์ :
http://www.thaire.co.th/
อีเมล์ : mailbox@thaire.co.th




บจ. ไทยศรีประกันภัย
Thaisri Insurance Co., Ltd.
126/2 ถนนกรุงธนบุรี ข.บางลำภูล่าง
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
126/2 Krungthonburi Road,
Klongsan, Bangkok 10600
โทร. : 0-2878-7111, 0-2860-8001
โทรสาร : 0-2439-4840
เว็ปไซด์ :
http://www.thaisri.com/
อีเมล์ : info@thaisri.com




บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย
Thai Setakij Insurance Public Co., Ltd.
160 ถนนสาธรเหนือ ข.สีลม เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร 10500
160 North Sathorn Road,
Bangrak, Bangkok 10500
โทร. : 0-2630-9055, 0-2630-9111
โทรสาร : 0-2237-4621, 0-2237-4624
เว็ปไซด์ :
http://www.thai-setakij.com/
อีเมล์ : info@thai-setakij.com




บจ. ไทยสมุทรประกันภัย
Ocean General Insurance Co., Ltd.
163 ถนนสุรวงศ์ ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร 10500
163 Surawong Road,
Bangrak, Bangkok 10500
โทร. : 0-2234-7020, 0-2234-7227
โทรสาร : 0-2238-4158
เว็ปไซด์ :
http://www.oceaninsure.com/
อีเมล์ : info@oceaninsure.com




บจ. ธนชาตประกันภัย
Thanachart Insurance Co., Ltd.
1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10
ถนนสุขุมวิท 25 ข.คลองเตยเหนือ
เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
1 Glass House Bldg ,10 th Floor, Sukumvit Road,
Wattana, Bangkok 10110
โทร. : 0-2661-7999
โทรสาร : 0-2665-7304
เว็ปไซด์ :




บมจ. นวกิจประกันภัย จำกัด
Navakij Insurance Public Co., Ltd.
90/5-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี ถนนสาธรเหนือ ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
90/5-6 North Sathorn Road,Bangrak, Bangkok 10500
โทร. : 0-2636-7900โทรสาร : 0-2636-7999
เว็ปไซด์ :
http://www.navakij.co.th/




บจ. แอลเอ็มจี ประกันภัย
LMG Insurance Co., Ltd.
2 อาคารจัสมินซิตี้ ชั้นที่ 14-15 ,17
ซ.สุขุมวิท 23(ประสานมิตร) ถ.สุขุมวิท
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทร. : 0-2661-6000
โทรสาร : 0-2665-2728
เว็ปไซด์ : www.lmginsurance.co.th
2 Jasmincity Bldg., 14th-15th Floor, Sukhumvit 23, Sukhumvit Road,
Klongtoey, Wattana, Bangkok 10110




บมจ. นำสินประกันภัย จำกัด Nam Seng Insurance Public Co., Ltd.
767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ข.บางซื่อเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทร. : 0-2911-4488, 0-2911-4567โทรสาร : 0-2911-4477
เว็ปไซด์ :
www.namsengins.co.thอีเมล์ : -
767 Bangkok-Nontaburi Road,Bangsue, Bangkok 10800




บมจ. บางกอกสหประกันภัย จำกัด Bangkok Union Insurance Public Co., Ltd.
175-177 ถนนสุรวงศ์ ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111โทรสาร : 0-2237-1856
เว็ปไซด์ :
http://www.bui.co.th/อีเมล์ : underwrite@bui.co.th
175-177 Surawong Road,Bangrak, Bangkok 10500





บมจ. ประกันคุ้มภัย จำกัด Safety Insurance Public Co., Ltd.
26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร. : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9โทรสาร : 0-2253-3701, 0-2253-4222
เว็ปไซด์ :
http://www.safety.co.th/hอีเมล์ : webmaster@safety.co.th
26/5-6 Orakarn Bldg., Chidlom Road.Patumwan, Bangkok 10330





บมจ. ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด Thaivivat Insurance Public Co., Ltd.
71 ถนนดินแดง ข.สามเสนในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400โทรสาร : 0-2245-4575, 0-2248-4975
เว็ปไซด์ :
http://www.thaivivat.co.th/อีเมล์ : info@thaivivat.co.th
71 Dindaeng Road,Samsennai, Phayathai, Bangkok 10400





บจ. ประกันภัยศรีเมือง Sri Muang Insurance Co., Ltd.
195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ ข.ยานนาวา เขตสาทรกรุงเทพมหานคร 10120
โทร. : 0-2686-8888-9โทรสาร : 0-2686-8601-2
เว็ปไซด์ :
http://www.srimuang.co.th/อีเมล์ : info@srimuang.co.th
40th Fl., Empire Tower, 195 South Sathorn Rd.Yannawa, Sathorn, Bangkok 10120





บจ. เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) Generali Insurance (Thailand) Co., Ltd.
87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร. : 0-2685-3828โทรสาร : 0-2685-3830
เว็ปไซด์ :
http://www.generalithailand.com/ อีเมล์ : info@generali.co.th
87/2 CRC Tower, 16th Floor, Unit 1601-2Wireless Road, Patumwan, Bangkok 10330





บจ. พระนครธนบุรีประกันภัย Bangkok Thonburi Insurance Co., Ltd.
127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก) ข.ช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. : 0-2295-3434โทรสาร : 0-2295-3933
27/26 Panjathani Tower 21st Fl, Nonsee(Rachadapisek)Rd,Yannawa,Bangkok 10120




บมจ. ธนสินประกันภัย Patchara Insurance Co., Ltd.
900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 ข.บางโพงพาง เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร 10120
โทร. : 0-2685-1800โทรสาร : 0-2685-1900
เว็ปไซด์ :
http://www.thanasin.co.th/ อีเมล์ : -
900/11-13,36 SVOA Bldg., Rama 3 Rd.,Bangpongpang, Yannawa, Bangkok 10330





บจ. พุทธธรรมประกันภัย Phutthatham Insurance Co., Ltd.
703 อาคารรัชฏาสวีท ถนนวงศ์สว่างข.บางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทร. : 0-2910-7450 - 69, 0-2910-7480 - 7โทรสาร : 0-2910-7488 - 9
703 Wongsawang Road,Bangsue, Bangkok 10800




บจ. ไพบูลย์ประกันภัย Paiboon Insurance Co., Ltd.
123 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวางเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทร. : 0-2246-9635 - 54โทรสาร : 0-2246-9660 - 1
123 Rachadaphisek RoadHuaywang, Bangkok 10320




บริษัท เอ ไอ จี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด (AIG General Insurance (Thailand) Ltd.)(*ชื่อเดิม : บริษัท ไพศาลประกันภัย จำกัด) Universal Insurance Co., Ltd.
181/19 ถนนสุรวงศ์ ข.สุริยวงศ์เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2634-8888โทรสาร : 0-2236-6489
181/19 Surawong Road,Bangrak, Bangkok 10500




บมจ. ภัทรประกันภัย Phatra Insurance Public Co., Ltd.
252 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวางเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทร. : 0-2290-3333โทรสาร : 0-2290-2033
เว็ปไซด์ :
http://www.phatra.com/อีเมล์ : info@phatra.com
252 Rachadaphisek Road,Huaywang, Bangkok 10320





บจ. เมืองไทยประกันภัย Muang Thai Insurance Co., Ltd.
252/79, 81-84, 127-128 อาคารสำนักงานเมืองไทย-ภัทรชั้น 10-12,28 (ทาวเวอร์บี) ถ.รัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร 10310
โทร. : 0-2693-3456, 0-2665-4000โทรสาร : 0-2693-2766, 0-2665-4166
เว็ปไซด์ :
http://www.mtins.com/อีเมล์ : enquiry@mtins.com
252/79, 81-84, 127-128 Muang Thai-Phatra Complex Tower B, 10-12,28 Floor, Rachadaphisek Road, Huaywang, Bangkok 10310





บจ. ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย)(ชื่อเดิม : บจ. โรยัลแอนด์ซันอัลลายแอนซ์ประกันภัย)IAG Insurance (Thailand) Co., Ltd.(Formerly : Royal And Sun Alliance Insurance (Thailand) Co., Ltd.)
1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ข.ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10310
โทร. : 0-2207-0266 - 85โทรสาร : 0-2207-0575
เว็ปไซด์ :
http://www.royalsun.co.th/อีเมล์ : contact@royalsun.co.th
1550 New Petchburi Road,Rachatewee, Bangkok 10310





บจ. ลิเบอร์ตี้ประกันภัย Liberty Insurance Co., Ltd.
1466 ถนนพัฒนาการ ข.สวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
โทร. : 0-2322-3001 - 49โทรสาร : 0-2321-7332
เว็ปไซด์ :
http://www.libertyinsurance.co.th/อีเมล์ : info liberty@libertyinsurance.co.th
1466 Pattanakarn Road,Suanluang, Bangkok 10250





บจ. บีที ประกันภัย BT Insurance Co., Ltd.
44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร. : 0-2657-1700โทรสาร : 0-2657-1666-7
44 Bank Thai Bldg.,23-24 Floor, Ploenchit Road,Patumwan, Bangkok 10330




บจ. ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย AIOI Bangkok Insurance Co., Ltd.
25 อาคารกรุงเทพประกันภัย / YWCA ชั้น 22 ถนนสาทรใต้ ข.ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. : 0-2677-3999, 0-2620-8000โทรสาร : 0-2677-3978-9
25 Bangkok Insurance Bldg.,YMCA, 22 Floor,South Sathorn Road, Sathorn, Bangkok




บจ. วิริยะประกันภัย Viriyah Insurance Co., Ltd.
1242 ถนนกรุงเกษมข.คลองมหานาค เขตป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร. : 0-2223-0851, 0-2225-0137, 0-2224-0059โทรสาร : 0-2224-9876
เว็ปไซด์ :
http://www.viriyah.co.th/อีเมล์ : info@viriyah.co.th
1242 Krungkasem Road,Pomprab, Bangkok 10100





บมจ. ศรีอยุธยาประกันภัย Ayudhya Insurance Public Co., Ltd.
898 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร 10330
โทร. : 0-2263-0335โทรสาร : 0-2263-0589
เว็ปไซด์ :
http://www.ayud.co.th/อีเมล์ : rakchart@ayud.co.th
898 Ploenchit Tower, Ploenchit Road,Patumwan, Bangkok 10330





บจ. ส่งเสริมประกันภัย Thai Development Insurance Co., Ltd.
42 ถนนสุรวงศ์ ข.สีลม เขตบางรักกรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9โทรสาร : 0-2237-0808, 0-2267-0259
42 Surawong Road,Bangrak, Bangkok 10500




บจ. สยามซิตี้ประกันภัย Siam City Insurance Co., Ltd.
138/36-38 ถนนนเรศ ข.สี่พระยาเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2267-1110, 0-2267-1010โทรสาร : 0-2267-1112 - 3
เว็ปไซด์ :
http://www.scil.co.th/อีเมล์ : siamcityinsurance@sil.co.th
138/36-38 Naret Road,Siphaya, Bangrak, Bangkok 10500





บจ. สหนิรภัยประกันภัย Union Insurance Co., Ltd.
462/1-5 ถนนสี่พระยา ข.มหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231โทรสาร : 0-2236-1300, 0-2236-1211
เว็ปไซด์ :
http://www.union-insurance.com/อีเมล์ : info@union-insurance.com
462/1-5 Siphaya Road,Bangrak, Bangkok 10500





บจ. สหมงคลประกันภัย Union Prospers Insurance Co., Ltd.
259 ถนนราชวงศ์ ข.จักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร. : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019โทรสาร : 0-2225-1623
เว็ปไซด์ :
http://www.upp.co.th/อีเมล์ : admin@upp.co.th
259 Ratchawong Road,Sampanthawong, Bangkok 10100





บจ. สหวัฒนาประกันภัย Sahawattana Insurance Co., Ltd.
23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิทข.คลองตัน เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 10110
โทร : 0-2662-7000 - 9โทรสาร : 0-2622-7010
23/5 Sukhumvit Road,Klongtan, Klongtoey, Bangkok 10110




บจ. สัมพันธ์ประกันภัย Sampanh Insurance Co., Ltd.
1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1ข.บางซื่อ เขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร 10800
โทร. : 0-2913-2111, 0-2587-1111โทรสาร : 0-2913-2130-4
เว็ปไซด์ : http://www.sampanhins.com/อีเมล์ : info@sampanhins.com
1518/5 Pracharasdr No.1 Road,Bangsue, Bangkok 10800





บมจ. ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย The Siam Commercial Samaggi Insurance Public Co., Ltd.
2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค ถนนวิภาวดีรังสิต ข.ทุ่งสองห้องเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร. : 0-2555-9100โทรสาร : 0-2955-0205
เว็ปไซด์ :
http://www.smg.co.th/อีเมล์ : scsmg@scsmg.co.th
2/4 Siam Commercial Samaggi Insurance Tower, 12th Floor, Northpark Project, Vibhavadi-Rangsit Rd., Thung Song Hong, Laksi, Bangkok 10210





บจ. สินทรัพย์ประกันภัย Assets Insurance Co., Ltd.
492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร. : 0-2541-5555โทรสาร : 0-2541-5170
เว็ปไซด์ :
http://www.asset.co.th/อีเมล์ : praic@asset.co.th
492-494 Rachadaphisek Road,Huaykwang, Bangkok 10320





บมจ. สินมั่นคงประกันภัย Synmunkong Insurance Public Co., Ltd.
313 ถนนศรีนครินทร์ ข.หัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทร. : 0-2379-3138 - 40, 0-2731-6500, 0-2731-6655โทรสาร : 0-2731-6590
เว็ปไซด์ :
http://www.smk.co.th/อีเมล์ : customer@smk.co.th
313 Srinakarin Road,Huamark, Bangkapi, Bangkok 10240





บจ. อาคเนย์ประกันภัย (2000) South East Insurance (2000) Co., Ltd.
315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม ข.บางรักเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2631-1331, 0-2267-7777โทรสาร : 0-2237-7409
เว็ปไซด์ :
http://www.seic2000.com/อีเมล์ : public_relation@seic2000.com
315 G Floor - 3 Floor, Silom Road,Bangrak, Bangkok 10500





บมจ. อินทรประกันภัย Indara Insurance Public Co., Ltd.
364/29 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. : 0-2247-9261-75โทรสาร : 0-2247-9260, 0-2246-5030
เว็ปไซด์ :
http://www.indara.co.th/อีเมล์ : contact@indara.co.th
364/29 Sri Ayudhaya Road,Phayathai, Bangkok 10400





บจ. คอมไบด์ อินชัวรันส์ (ไทยแลนด์) Combined Insurance (Thailand) Co., Ltd.
587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ข.ดินแดงเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. : 0-2274-9797 โทรสาร : 0-2274-9794
เว็ปไซด์ :
http://www.combined.co.th/อีเมล์ : th.service@combined.com
587 18-19 0th Floor, Viriyathavorn Building,Sutthisan Road, Dindaeng, Bangkok 10400





บจ. คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) Kurnia Insurance (Thailand) Co., Ltd.)
195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. : 0-2670-2100โทรสาร : 0-2670-2135-7
เว็ปไซด์ :
http://www.kurnia.co.th/อีเมล์ : -
195 Empire Tower 9 Floor, Sathorn Road,Yanawa, Bangkok 10120





บจ. เอเชียประกันภัย 1950 Asia Insurance 1950 Co., Ltd.
183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร. : 0-2254-9977โทรสาร : 0-2250-5277
เว็ปไซด์ :
http://www.aii.co.th/อีเมล์ : -
183 Regent House 12th Floor, Rajdamri Road,Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330





บจ. เอราวัณประกันภัย Erawan Insurance Co., Ltd.
292 ถนนเยาวราชข.สัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร 10100
โทร. : 0-2224-0056, 0-2224-4727-36โทรสาร : 0-2221-1390
เว็ปไซด์ :
http://www.erawanins.com/อีเมล์ : eichotline@erawanins.com
292 Yaowaraj Road,Sampanthawong, Bangkok 10100





บมจ. แอกซ่าประกันภัย AXA Insurance Public Co., Ltd.
1168/67 ชั้น 23 ซี อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถนนพระราม 4ข.ทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. : 0-2679-7600โทรสาร : 0-2285-6383
เว็ปไซด์ :
http://www.axa.co.th/อีเมล์ : axathai@axa-insurance.co.th
1168/67 Rama IV Road,Sathorn, Bangkok 10120





บจ. แอ๊ดวานซ์ อินชัวรันส์ Advance Insurance Co., Ltd.
2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทร. : 0-2648-3800โทรสาร : 0-2648-3830
เว็ปไซด์ :
http://www.ainsure.co.th/อีเมล์ : mkt@ainsure.co.th
5th floor, Ploenchit center,2 Sukhumvit Rd., Klongtoey,Bangkok 10110





บจ. โอสถสภาประกันภัย Osotspa Insurance Co., Ltd.
615 อาคารจิตต์อุทัย ชั้น 3 ถนนรามคำแหง ข.หัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทร. : 0-2732-3671 - 4โทรสาร : 0-2374-4070
เว็ปไซด์ : - อีเมล์ : osotspa_ins@clickta.com
615 Ramkhamkaeng Road,Huamark, bangkapi, Bangkok 10240




บจ. ไทยประกันสุขภาพ Thai Health Insurance Co., Ltd.
121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก ข.ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. : 0-2642-3100โทรสาร : 0-2642-3130
เว็ปไซด์ :
http://www.thaihealth.co.th/อีเมล์ : info@thaihealth.co.th
121/89 R.S.Tower 31stFloor, Rachadaphisek Road,Dindaeng, Bangkok 10400





บจ. บูพาประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) Bupa Insurance (Thailand) Co., Ltd.
38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร. : 0-2234-7755โทรสาร : 0-2234-5667
เว็ปไซด์ :
http://www.bupathailand.com/อีเมล์ : -
38 Q House Building, 9th Floor, Silom Road,Bangrak, Bangkok 10500





บ. นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ New Hampshire Insurance Company
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร. : 0-2649-1000
21st, 22nd and 23rd Floors, Siam Tower,989 Rama 1 Rd., Patumwan, Bangkok 10330




บจ. มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ Mitsui Sumitomo Insurance Co.,Ltd.
175 ถนนสาทรใต้ข.ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
โทร. : 0-2679-6165 - 87โทรสาร : 0-2679-6209 - 12
175 South Sathorn Road,Thungmahamek, Bangkok 10210




บจ. อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ (ประกันวินาศภัย)สาขาประเทศไทยAmerican International Assurance Co., Ltd.(NON LIFE INSURANCE)Thailand Branch
2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
โทร. : (053) 809-555 ต่อ 1111โทรสาร : (053) 809-538
เว็ปไซด์ :
http://www.acethai.com/อีเมล์ : -
2/2Chiang Mai Bldg.,International Tower, G Floor,Mahidol Road, Chiang Mai 50200


Thursday, March 15, 2007

อะไหล่ (เพิ่มเติม)


การระบุชิ้นส่วนอะไหล่ จะต้องเข้าใจ และเรียกให้ถูกต้อง เช่น



  • ฝากระโปรงหน้า-หลัง/แผ่นกันความร้อน

  • บังโคลนหน้า ซ้าย-ขวา /พลาสติคบังฝุ่นล้อ+กิ๊บล็อค,ยางกันโคลน

  • บังโคลนหลัง ซ้าย-ขวา /พลาสติคบังฝุ่นล้อ+กิ๊บล็อค,ยางกันโคลน

  • กันชนหน้า-หลัง /เหล็กหรือพลาสติคหรือไฟเบอร์กลาส

  • แผงใต้กันชนหน้า-หลัง /เหล็กหรือพลาสติคหรือไฟเบอร์กลาส

  • ประตูหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา/เฉพาะเปลือกไม่รวมชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ

  • บันไดซ้าย-ขวา

  • กระจกบังลมหน้า-หลัง/คิ้วขอบกระจก แนวตั้ง-แนวนอน,ยางขอบกระจก

  • กระจกมองข้างซ้าย-ขวา/เสื้อ หรือเฉพาะเนื้อเลนส์กระจกหรือเฉพาะระบบปรับไฟฟ้า

  • กระจังหน้า ชุบ(Chromium) - ดำ

  • ไฟหน้าซ้าย-ขวา/เฉพาะโคมหรือเสื้อ บางรุ่นแยกได้,พร้อมหลอดไฟ

  • ไฟเลี้ยวมุมซ้าย-ขวา

  • ไฟท้ายซ้าย-ขวา

  • ทับทิมท้าย(แผงสะท้อนแสง)

  • ไฟหลอก(ไฟสะท้อนแสง)/ไฟในกันชน

  • มือเปิด(ประตู)/นอก,ใน

  • แผงในประตู

  • ชุดรางกระจก /แบบไฟฟ้า หรือมือหมุน /ซ้าย-ขวา

  • บังฝุ่นล้อ(เหล็ก) /หน้า-หลัง /ซ้าย-ขวา(ซับในบังโคลนหน้า-หลัง)

  • แผงหน้า(ชุดรับไฟหน้า)-คานรับฝากระโปรงหน้า

  • แผงใต้กระจกบังลมหน้า

  • แผงห้องเครื่อง

  • แผ่นรองแบ็ตเตอร์รี่

  • พื้นรองยางอะไหล่(ในฝากระโปรงท้าย)

นี่เป็นชิ้นส่วนอะไหล่หลักๆ ที่จำเป็นเท่านั้น ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย เจียรไนกันไม่หวาดไหว มีประโยชน์มาก เวลาต้องบรรยายความเสียหายให้กับ ลูกค้า หรือ บริษัทประกันภัย หรือการสั่งอะไหล่

อะไหล่

อะไหล่ กับอู่ซ่อมรถยนต์นั้นเป็นของคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นอู่ประเภทไหน อู่เคาะ-พ่นสีรถยนต์ ก็เช่นกัน ที่มีความจำเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไหล่มากที่สุดก็ว่าได้ เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ไม่ได้แปลว่าจะต้องเกิดความเสียหายเฉพาะ ชิ้นส่วนที่เป็นตัวถังเท่านั้น อาจเสียหายไปถึงเครื่องยนต์ ช่วงล่าง ระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง อะไหล่


  • อะไหล่ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งผลิต คือ อะไหล่แท้ (Genuine Part) และ อะไหล่เทียมเลียนแบบ ถ้าคุณได้สัมผัสไปนานๆ จะทราบได้โดยอัตโนมัติ ว่าอันไหนแท้หรือว่าเทียม โดยสังเกตได้ตั้งแต่ package ไปจนถึงจุดสังเกตบนตัวชิ้นส่วนอะไหล่ ความละเอียดของชิ้นงาน อู่โดยทั่วไปจะต้องให้ลูกค้าเลือกว่าจะใช้ อะไหล่แท้หรือเทียม
    ถ้าเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนตัวถัง เช่นไฟหน้า ไฟมุม ไฟท้าย ควรจะเป็นของแท้ เพราะหากใช้ของเทียม จะเป็นฝ้าเร็ว เพราะพลาสคิดคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เก่าหรือว่าใหม่ควรเลือกใช้ของแท้เอาไว้ก่อน หรือ ชิ้นส่วนตัวถังอื่นๆ เช่น ฝากระโปรงหน้า บังโคลน กันชน ชิ้นส่วนเหล่านี้ ควรพิจารณาเลือกใช้ของแท้เช่นกัน เพราะ mold ที่ใช้จะเป็นอันเดียวกับที่ใช้ในการผลิต เมื่อนำมาประกอบลองในระหว่างการเคาะ จะมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ เท่ากับของเดิมมากกว่าอะไหล่เทียม แต่ถ้าหากเป็นรถยนต์ที่เก่าแล้ว หรือว่างบประมาณมีจำกัด จะเลือกใช้ ของเทียมก็ได้ แต่ช่างเคาะจะต้องฝีมือหน่อยในการปรับแต่งให้เข้ารูป

    แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไหล่แท้หรือว่าเทียม ในการรับมอบสินค้า จะต้องตรวจสอบให้ละเอียด ว่ามีส่วนใดแตกหัก บุบสลายหรือไม่ ถ้าเป็นอะไหล่ที่เป็นฝากระโปรง บังโคลน ฯ มักจะบุบนิดๆหน่อยๆ แต่ถ้าบุบมากนี่ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ต้องเปลี่ยนให้เรา หรือถ้าเป็นไฟหน้า ไฟมุม ฯ จะต้องดูโคมเสื้อไฟให้ดี เพราะอาจจะร้าว หรือว่า ขาหัก ชิ้นส่วนตัวถังที่เป็นพลาสติค จะต้องดูเนื้อพลาสติคให้ดี เพราะอาจจะมาไม่เหมือนของแท้ บางทีจะเป็นเนื้อเรียบมัน บางทีจะเป็นเม็ด ก็จะต้องเปลี่ยนยี่ห้อ ให้ตรงกับของแท้มากที่สุด

    ในส่วนที่เป็นอะไหล่เครื่อง หรือช่วงล่าง ทางอู่จะต้องให้คำแนะนำกับลูกค้าได้ว่า ชิ้นส่วนใดจำเป็นที่จะต้องใช้ของแท้ ที่มีความสำคัญๆ และต้องใช้งานหนัก เช่น ลูกหมากต่างๆ ปีกนก ฯ ชิ้นส่วนพวกนี้ควรต้องใช้ของแท้ไว้ก่อน หรือใช้ของเทียมที่เกรดดีหน่อย ถ้าจำเป็นเพราะงบจำกัด ชิ้นส่วนอื่นๆอาจพิจารณาไปตามความจำเป็น เช่น หม้อน้ำ ผ้าเบรค ฯ

  • อะไหล่เก่า มือสอง อะไหล่ชนิดนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะบางทีลูกค้าอยากใช้ของแท้แต่ว่า งบฯไม่ถึง อะไหล่มือสอง ก็เป็น อีกทางเลือกหนึ่ง แหล่งซื้อใหญ่ๆ จะอยู่ที่ เซียงกงบรรทัดทอง บางนา หลักสี่ และมีที่กระจัดกระจายกันไปทั่วกรุงเทพ ต้องเสาะแสวงหากันดู
    ในส่วนของอะไหล่เครื่อง จะต้องพิถีพิถันกันหน่อย เพราะ เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว ช่างจะสามารถบอกได้ว่า ยังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้นาน อยู่หรือไม่ ไม่ใช่ว่า ซื้อมาแล้ว ใช้ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนอีก ก็ซื้อของใหม่แท้ใช้ไปเลยไม่ดีกว่าหรือ ?
    กรณีที่ซื้อยกเครื่อง นี่หมดสิทธิ์ตรวจสอบ ถ้าหากเจอของย้อมแมว จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเชื่อถือ กับทางร้านเป็นสำคัญ กรณีนี้จะต้องตรวจสอบเอกสาร Invoice ประกอบเครื่องด้วย ถ้าจำเป็นที่จะต้อง แจ้งเปลี่ยนเครื่องกับทางกรมขนส่งฯ

    ในส่วนของอะไหล่ตัวถังก็ง่ายหน่อย สามารถตรวจสภาพภายนอก ว่ายังสวยงาม สมบูรณ์ใช้การได้หรือไม่เท่านั้นก็พอ ที่สำคัญต้องตรวจสอบให้ดี ว่าตรงรุ่นกันหรือไม่ เพราะ มีบางรุ่นผลิตในต่างประเทศ แต่ไม่ผลิตในเมืองไทย บางรุ่นผลิตในเมืองไทย แต่ไม่ผลิตในต่างประเทศ ชิ้นส่วนบางอย่างอาจไม่เหมือนกันได้

    หมายเหตุ ในปัจจุบันนี้ จะมีอะไหล่เก่าประเภท อดีต Taxi หรือว่า อดีตซากรถที่เกิดอุบัติเหตุ ที่พ่อค้ารถยนต์ไปซื้อเหมามาชำแหละอะไหล่ขาย หรือแม้แต่รถขโมยก็มีนะครับ

การสั่งซื้ออะไหล่จำเป็น ที่จะต้องสั่งให้ตรงรุ่น เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน การเรียกบางทีก็เรียกตามศัพท์ในวงการพ่อค้ารถยนต์ บางทีก็เรียก ตามรหัสตัวถัง ถ้าเป็นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ช่วงล่าง ก็มักจะเรียกตาม รหัสเครื่อง ตัวอย่างเช่น Toyota AE101 วงการรถยนต์จะเรียกว่า "สามห่วง" รหัสเครื่องจะเริ่มต้นด้วย 4A-xxxx หรือ Accord ไฟท้ายก้อนเดียว วางเครื่อง VTEC หรือ BigM หน้าโง่ หน้าลาว อะไรก็ว่ากันไปเป็นต้น

จะเรียกอย่างไรก็ได้ ขอให้เข้าใจตรงกันกับร้านอะไหล่เป็นพอ (การใช้ศัพท์แบบมือใหม่ อาจทำให้ได้อะไหล่ในราคาที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น) ดังนั้นควร ดูรายละเอียดของรถยนต์ลูกค้าให้ละเอียด เพราะปัจจุบัน รถยนต์ตัวถังเดียว แต่วางเครื่องหลายรุ่น หรืออาจมีการดัดแปลง รถยนต์มาก่อน อาจทำให้การสั่งอะไหล่สับสน จะทำให้เสียเวลาในการทำงานมาก เช่นถ้าเป็นกรณีที่จะต้องสั่งอะไหล่ ไปทางบริษัทประกันภัย ให้จัดอะไหล่มาให้กับทางอู่ หากผิดพลาด อาจทำให้เสียเวลาไป ถึง 2 อาทิตย์ อู่ที่ซ่อมล่าช้า ก็เพราะปัญหานี้ก็เยอะ แต่้ข้ออ้างที่ใช้ประจำ คือ หาอะไหล่ไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะมีปัญหาเฉพาะรถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่นเท่านั้น แต่ถ้าเป็นรถตลาด อะไหล่มีเหลือเฟือ (รถยนต์ตลาดที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องอะไหล่ขาดตลาดมากที่สุดคือ Isuzu)

Wednesday, March 14, 2007

ห้องอบสี พ่นสี คืออะไร ?


อุปกรณ์สำคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นคือ หุ้องอบสี - พ่นสี ซึ่งใน ปัจจุบันสามารถผลิตเองได้ในประเทศไทยแล้ว มีบริษัทหลายแห่งที่ ผลิตห้องอบสี ทั้งสำเร็จรูป และ ออกแบบสร้างพิเศษ สามารถดูตัวอย่างรายละเอียดได้ ที่นี่
หรือ ที่นี่ ห้องพ่นสี อบสี ในปัจจุบัน นิยมใช้ระบบดูด-อัด คือจะดูดอากาศลงใต้พื้น ผ่าน Filter ชั้นหนึ่ง และ ผ่าน Filter กรองละอองสี แล้วย้อนกลับไปอัด ลงมา ทางเพดานอีกครั้ง โดยผ่าน Filter อีกชั้นหนึ่ง ถึงแม้จะเปลือง Filter แต่ระบบนี้ Filter อุดตันได้ช้ากว่า และดีที่สุดแล้วในปัจจุบัน บางระบบ เช่นดูด ลงใต้พื้น อย่างเดียว ถ้าหาก Filter ตัน จะทำให้ละอองสี ฟุ้งกระจายมาก ช่างไม่สามารถเห็นชิ้นงานได้ และเป็นอันตรายต่อคนทำงาน
สิ่งที่ต้องคำนึงอีกเรื่องคือ แสงสว่างภายใน จะต้องมีหลอดไฟที่มากเพียงพอ เพื่อให้ช่างสามารถเห็น ชิ้นงานได้ทั่วถึง ในขณะทำการพ่นสี


ส่วนขั้นตอนการ อบสีนั้น (Owen) ปัจจุบันไม่มีอู่ ใดนิยมใช้ เนื่องจาก เปลืองไฟฟ้ามาก ในการทำความร้อน เป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น ปกติอากาศบ้านเรา ก็ร้อนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะปล่อยให้สี แห้งตัว ตามธรรมชาติ ยกเว้นเสียแต่ว่า งานจะเร่งมากๆ และอากาศ ชื้นติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับสีที่ใช้ เป็นระบบ แห้งช้า ที่ต้องทำการพ่นทั้งคัน ส่วนการซ่อมแผลเฉพาะจุด บางอู่ จะนิยมใช้โป๊ะไฟ Infrared Heater ส่องเฉพาะจุด


สรุปคือ ต้องหา ห้องพ่นสี อบสี ที่เป็นระบบ ดูดอัด และหากสามารถเจรจา ไม่ติดตั้ง ระบบ อบสี ก็ได้ คุณก็จะสามารถประหยัดเงินลงทุนใน ส่วนที่ไม่จำเป็นได้อีก คุณอาจไปซื้อ โป๊ะไฟ Infrared มาใช้งาน จะใช้ประโยชน์ ได้มากกว่า เพราะจุดประสงค์หลักของห้องพ่นสี ในบ้านเราก็คือ ป้องกันฝุ่นละออง ที่่จะลอยมาเกาะ ชิ้นงาน ทำให้เพิ่มภาระในการ ขัดสี และทำให้ชิ้นงาน ไม่มีคุณภาพ ช่างทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น และป้องกันมล ภาวะทาง สีและกลิ่น ฟุ้งกระจาย ในละแวกใกล้เคียง ซึ่งมีความสำคัญถึงขนาด อาจทำให้คุณต้องเลิกกิจการ ได้เลยทีเดียว

Tuesday, March 13, 2007

การรับงานซ่อม และการตลาดพื้นฐาน


ก่อนอื่นคุณต้องทำการตลาดเสียก่อน เพราะโดยทั่วๆไปแล้ว อู่ที่เปิดใหม่ๆ มักไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า เป้าหมายทางการตลาดของคุณก็คือ ทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้ามาซ่อมกับคุณ และทำให้เขาประทับใจในบริการของคุณ



  1. ลูกค้าเงินสด ลูกค้ากลุ่มนี้ได้แก่ลูกค้าทั่วไปที่ไม่มีการทำประกันภัยรถยนต์ ลูกค้าเต้นท์รถยนต์ ลูกค้าที่บริษัท ห้างร้านต่างๆ ส่งให้กับเรา หรือลูกค้าที่เราได้ Sub งานมาอีกทอดหนึ่งจากศูนย์บริการ
    - ลูกค้าเต้นท์รถยนต์ จะเป็นรถที่รับมาจากเต้นท์รถยนต์ที่เมื่อเวลาพ่อค้า ซื้อรถเข้าเต้นท์ก็จะมีการอาบน้ำทั้งคัน (พ่นสีหมดทั้งคัน) หรือซ่อมแผลนิดหน่อย ซึ่งราคาจะถูกมาก เน้นความสวยงาม แต่คุณภาพสีไม่สำคัญ และการเก็บงานหลังการซ่อมจะต้องไม่ให้มีพิรุธ ว่าได้ทำการซ่อมสีมาแล้ว
    - ลูกค้าที่เราได้ Sub งานมาจากศูนย์บริการ โดยศูนย์บริการบางแห่งจะไม่มีแผนกซ่อมตัวถัง เราสามารถที่จะไปเสนอตัวรับงานซ่อมได้ กรณีนี้จะได้ราคากว่า แต่อาจต้องมีเบี้ยบ้ายรายทางให้กับคนส่งงานกันบ้าง เพื่อที่จะได้ส่งงานซ่อมให้กับเรา
    -ลูกค้าขาจรทั่วไป ในละแวกใกล้เคียง อย่าลืมเป้าหมายสำคัญ คือโรงพัก มักมีรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ มาตกลงความเสียหายกันเป็นประจำ กรณีนี้ก็ต้องวางเส้นสายกันเอาไว้บ้าง


  2. ลูกค้าบริษัทประกันภัย เราจะต้องทำ Resume เป็นเอกสารเกี่ยวกับอู่ของเรา ถ่ายรูปสภาพภายในอู่ ห้องพักลูกค้า แผนที่ตั้งของอู่ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยของเรา ยี่ห้อและระบบสีที่เราใช้งาน จำนวนช่างซ่อม นำเสนอต่อทางบริษัทประกันภัย ควรเลือกบริษัทชั้นนำ และควรเสนอให้ได้อย่างน้อย 10 แห่ง เพียงแค่นี้คุณก็รับงานกันไม่ไหวแล้ว ถ้าเขาตอบรับมาให้ร่วมรับงานซ่อม

หัวใจสำคัญของอู่เคาะ พ่นสีรถยนต์ก็คือ การบริการ (Service) เมื่อลูกค้าเข้าซ่อมที่อู่ของเรา เราจะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างที่สุด (แต่ไม่ใช่ว่า จะเอาให้ได้อย่างใจทุกเรื่องซึ่งเป็นไปไม่ได้) เป้าหมายคือต้องดึงให้เป็นลูกค้าประจำของเราให้ได้ และจะต้องบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ตั้ง ลูกค้าถึงจะให้ความไว้วางใจเรา และกิจการก็จะอยู่ได้นาน ลูกค้าจะบอกกันปากต่อปาก เป็นการทำการตลาดแบบง่ายๆ อู่ซ่อมรถยนต์หลายๆแห่ง มีลูกค้ามากมายเสียจนล้น แต่เขาก็ยังไม่ลืมที่จะ Takecare ลูกค้าอย่างทั่วถึง ไม่แสดงอาการหยิ่ง ไม่ง้อลูกค้า ซึ่งผมเห็นว่ามันเจ๊งกันมาเยอะแล้ว เห็นอู่ใหญ่ๆ ก็เถอะ ปัจจุบันนี้การแข่งขันสูงมาก ถ้าอู่ไหนไม่คำนึงถึงข้อนี้ บริหารงานกันแบบเช้าชาม เย็นชาม รับรองว่าไปไม่รอด



การสร้าง Network ในปัจจุบันนี้การทำธุรกิจเราไม่สามารถที่จะอยู่ได้เพียงลำพังเท่านั้น จะต้องมีการติดต่อ สร้างเครือข่าย ในกลุ่มผู้ประกอบการประเภทเดียวกัน เพราะหากอู่เขาเกิดมีงานซ่อมล้นมือ ไม่สามารถส่งงานได้ทัน เราก็สามารถไปรับงานซ่อมต่อมาจากเขาก็ได้ โดยแบ่ง % กัน หรืออาจจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในวงการประกันภัย (บริษัทไหนให้ราคาซ่อมดี หรือว่าสถานะการเงินมีปัญหา) หรือว่าขอความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการซ่อม การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเรา หรือสร้างเครือข่ายกับ อู่ซ่อมรถยนต์ในสาขาอื่นๆ เพราะลูกค้าโดยทั่วไปเมื่อให้ความเชื่อถือและไว้วางใจเรา เมื่อมีปัญหาอะไร ก็มักจะมาปรึกษาเราในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์ ช่วงล่าง แอร์ ระบบไฟฟ้า เราสามารถส่งงานต่อให้ อู่ในละแวกใกล้เคียงที่เราเชื่อมั่น แนะนำให้กับลูกค้า หรือว่า ติดต่อให้ส่งช่างมาทำการซ่อมให้แก่ลูกค้าที่อู่ของเราเองเลยก็ได้ ซึ่งทำให้การทำงานสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

อู่เคาะ พ่นสีรถยนต์ เค้าทำกันยังไง


Blog นี้จะว่ากันด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับ อู่ ซ่อมรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อู่เคาะพ่นสีรถยนต์ ว่ามีการทำงานกันอย่างไร ยากง่ายแค่ไหน มีเทคนิคอะไร หรือว่า มีลูกเล่นอย่างไร นึกเสียว่าเป็นการแบ่งปันกัน รับรองได้ว่า จะต้องเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ใช้รถอย่างเราๆท่านๆ และผู้ที่สนใจทั่วไป ไม่มากก็น้อยนะครับ


เริ่มต้นกันที่ อู่เคาะ พ่นสี กันก่อน เนื่องจากว่าเป็นกิจการที่ถือว่าทำกำไรให้มากที่สุด ในบรรดาอู่ซ่อมรถยนต์ทุกชนิดในปัจจุบันนี้
คุณจะเปิดอู่เคาะพ่นสีได้ นี่ต้องไม่ธรรมดา อย่างน้อยก็ต้องมีเงินพอสมควร เพราะมีการลงทุนที่ค่อนข้างสูง โดยประมาณคือ 500,000 - 1,000,000 บาท และต้องมีเนื้อที่สำหรับประกอบการ อย่างน้อยๆก็ต้องมีถึง 200 ตรว.

ตัวเลขที่ยกขึ้นมานี้สำหรับอู่ที่สามารถรับงานซ่อมได้ในระดับ 20 ช่องซ่อมพร้อมกัน จำนวนช่างระดับ 10 คน ขออธิบายตัวเลขคร่าวๆนะครับ ว่าต้องใช้จ่ายไปกับสิ่งใดบ้าง
- ห้องพ่นสี อบสี ราคาอยู่ในระดับไม่เกิน 500,000 บาท made in Thailand มีระบบเงินผ่อน
-
แท่นดึงตัวถังรถยนต์ ราคาอยู่ในระดับไม่เกิน 400,000 บาท made in Thailand มีระบบเงินผ่อนเช่นกัน
-
กาพ่นสี มีราคาตั้งแต่ หลักร้อย จนถึงหลักหมื่น
-
ปั๊มลม 4 Hp ขึ้นไปพร้อมตัวดักน้ำ ดักน้ำมัน
- ถังแก๊ส ถังลม (แก๊สก้อน หรือ แก๊สสำเร็จรูปก็ได้)พร้อมหัวเชื่อม
-
ตู้เชื่อมไฟฟ้า
-
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการ รื้อประกอบ รถยนต์ อย่าลืมว่า อุปกรณ์ใดก็ตาม ที่จะช่วยทำให้ช่างทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัดเวลาได้มาก ก็จำเป็นที่จะต้องแสวงหาเอามาไว้ประดับอู่

ถ้าบริหารเงินแบบประหยัดๆ ทุนเริ่มต้นประมาณ 500,000 ก็พอที่จะทำได้ แต่ต้องใช้ระบบเงินผ่อนสำหรับอุปกรณ์หนัก อย่างที่กล่าวมาข้างต้น

คำถามว่า ถ้าไม่ต้องใช้ ห้องอบสี พ่นสี ได้หรือไม่
คำตอบคือ อย่าเสี่ยงดีกว่า ในเบื้องต้นคุณต้องเผชิญกับกระแสต่อต้านรอบด้านเพราะเป็นกิจการที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากเกิดชาวบ้านร้องเรียนขึ้นมา คุณต้องปิดอู่ทันที และอีกอย่าง การมีห้องอบสี พ่นสี ทำให้อู่คุณดูมีราคา สามารถรับงานประกันภัยที่มีชื่อเสียงได้

คำถามว่า ไม่ต้องใช้ แท่นดึงตัวถัง รถยนต์ได้หรือไม่
คำตอบคือ จำเป็นที่จะต้องมี เพื่อช่วยให้ช่างเคาะสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ดีกว่าไปดึงกับต้นไม้ หรือว่าเสาเหล็ก ดูแล้วไม่มีมาตรฐาน ลูกค้ามาเห็นเข้าจะหัวเราะเยาะเอาได้

และสุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ช่าง....
1. ช่างเคาะ ต้องระดับมืออาชีพ สมัครเล่นอย่าเสี่ยง ทำงานมั่วมา เสียหายเยอะมาก ต้องมั่นใจว่าเก่ง มีประสบการณ์พอสมควร อย่างน้อย 2 คน
2. ช่างสี รวมหมด ทั้งโป๊วสี พ่นสี ควรมีอย่างน้อย 6 คน
3. เด็กฝึกงาน 2 คน เพื่อแบ่งเบาภาระช่าง

ในตอนหน้าจะมาเริ่มปฏิบัติงานกันเลย